วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เอแบคโพลล์พบว่า คนไทยมีความสุขพิ่มขึ้น

หลังทราบข่าว “ในหลวง” ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง ควบคู่กับ เมื่อเห็นความสำเร็จของเด็กไทย แต่ความสุขต่อบรรยากาศทางการเมืองต่ำกว่าครึ่ง... นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าววันนี้ (4 พ.ย.) ถึงผลการวิจัย “เอแบคเรียลไทม์โพลล์” เรื่อง แนวโน้มดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือนตุลาคม 2552 กับการตัดสินใจของประชาชนต่อความอยู่รอดของประเทศชาติหรือผลประโยชน์ของตน เอง กรณีศึกษาประชาชนระดับครัวเรือนใน 17 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 1,245 ครัวเรือน พบว่า ผลการวิจัยแนวโน้มดัชนีความสุขของคนไทยประจำเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยสำรวจล่าสุดเมื่อวันที่ 3 พ.ย.2552 ที่ผ่านมา พบว่า ความสุขโดยภาพรวมของคนไทยสูงขึ้นจาก 7.18 ในเดือน ส.ค.มาอยู่ที่ 7.50 ในการสำรวจครั้งล่าสุด ผอ.ศูนย์เครือข่ายวิชาการฯ ม.อัสสัมชัญ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ดัชนีความสุขของ คนไทยทุกตัวดีขึ้น โดยเฉพาะความสุขที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดีสูงถึง 9.84 จากคะแนนเต็ม 10 และรองลงมาคือความสุขต่อบรรยากาศของคนในครอบครัวสูงขึ้นจาก 8.44 มาอยู่ที่ 9.00 ความสุขต่อวัฒนธรรมประเพณีสูงขึ้นจาก 8.19 มาอยู่ที่ 8.22 ความสุขต่อสุขภาพใจสูงขึ้นจาก 7.73 มาอยู่ที่ 7.90 ความสุขต่อสุขภาพกาย สูงขึ้นจาก 7.69 มาอยู่ที่ 7.77 อย่างไรก็ตาม ความสุขของประชาชนต่อบรรยากาศทางการเมืองยังต่ำกว่าครึ่งคือได้ 4.74 จากคะแนนเต็ม ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่ได้รับประโยชน์จากผลงานรัฐบาลโดยตรงด้วยตนเองในระดับมากส่งผลให้ มีความสุข 7.66 8 โดยผลงานของรัฐบาลที่ได้รับโดยตรงเช่น เบี้ยยังชีพ ที่ทำกิน อาชีพการงาน ความปลอดภัย เป็นต้นนายนพดล กล่าวอีกว่า เช่นเดียวกันกับ การรับรู้ของประชาชนต่อท่าทีของฝ่ายค้าน ในการเคลื่อนไหวทางการเมือง เช่น เชิงสร้างสรรค์ ช่วยกันแก้ปัญหาบ้านเมือง ลงพื้นที่พบชาวบ้าน เป็นต้น ถ้าประชาชนรับรู้มากมีความสุขที่ 7.63 รับรู้ปานกลางมีความสุขที่ 7.52 และรับรู้น้อยมีความสุขที่ 7.42 ตามลำดับที่น่ายินดีคือ ความสุขของประชาชนที่รับรู้ภาพลักษณ์ของคนไทย เด็กเยาวชนไทย ประเทศไทยที่เก่ง ดี ในสายตาชาวโลก พบว่า ถ้ารับรู้มาก มีความสุขระดับมากเช่นกันอยู่ที่ 7.80 เช่นเดียวกับการรับรู้ต่อความสัมพันธ์ที่ดีของคนไทยภายในประเทศ เช่น มีน้ำใจต่อกัน เกื้อกูลกัน มีไมตรีจิตต่อกัน ช่วยกันประคับประคองประเทศให้พ้นปัญหาต่างๆ พบว่า รับรู้มากมีความสุขอยู่ที่ 7.85 ผอ.ศูนย์เครือข่ายวิชาการฯ ม.อัสสัมชัญ กล่าวด้วยว่า ที่น่าพิจารณา คือ กลุ่มคนที่ได้รับความเป็นธรรมจากสังคมมาก มีความสุขสูงอยู่ที่ 7.77 ที่น่าเป็นห่วงคือ เมื่อถามถึง ทางเลือกของประชาชนถ้าต้องเลือกระหว่าง ความอยู่รอดของประเทศชาติที่ต้องมาก่อน กับผลประโยชน์ของตนเองและครอบครัว พบว่า ประชาชนเพียงครึ่งหนึ่ง หรือ ร้อยละ 50.5 บอกว่า ความอยู่รอดของประเทศชาติต้องมาก่อน ในขณะที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.8 บอกว่าผลประโยชน์ของตัวเอง และครอบครัวต้องมาก่อน ส่วนอีกร้อยละ 15.7 บอกว่ายังไม่แน่ใจจะเลือกทางใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น